ความรู้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ 2009 (Influenza A H1N1) กลับหน้าหลัก Dowload เอกสาร
หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)    โดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
 Q ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้คือโรคอะไร  

 
Q เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu)

 
Q เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง

 
Q คนติดโรคนี้ได้อย่างไร

 
Q คนสามารถแพร่เชื้อนี้ให้แก่สัตว์อื่นได้หรือไม่
· องค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พ.ค.52 ว่า มีรายงานสุกรติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 นี้จากคน และพบการระบาดของโรคนี้ในสุกรแล้วในประเทศแคนาดา
 
Q ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
· การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุกนั้นปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้
· เนื่องจากไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิมที่พบในสุกร ซึ่งแม้เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิม การติดต่อจากสุกรก็เกิดได้น้อยมาก และติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำมูกน้ำลายสุกรป่วยเป็นหลัก
· นอกจากนั้น เชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่ก็จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไปด้วย
 
Q อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
· อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น
 - ไข้สูง
 - ปวดศีรษะ
 - ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 - ไอ
 - เจ็บคอ
 - อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย
· ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโกมีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต
 
Q มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
· ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น
· แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine
· ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้
 
Q ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
· ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้พอเพียง เพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยสำรองยาพร้อมใช้ทั่วประเทศจำนวน 3,250,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 325,000 ราย)
· และองค์การเภสัชกรรมกำลังนำวัตถุดิบที่สำรองมาผลิตยานี้ (GPO-A-Flu®) ได้สำหรับ 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ในอีก 4 วันข้างหน้า
· นอกจากนี้ ยังพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่ ได้อีก 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ด้วย
 
Q มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
· ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว
· ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
ก่อนเดินทางไปในพื้นที่ระบาด จะต้องรับประทานยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ เพื่อการป้องกันหรือนำยาติดตัวไปด้วยหรือไม่
· ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เป็นยาควบคุมพิเศษ ใช้เพื่อการรักษาโรคตามคำสั่งของแพทย์ โดยต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน
· สำหรับประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่จะเดินทางไปพื้นที่ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกัน หรือนำติดตัวไปรับประทานเอง เนื่องจากยาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศรีษะ บางรายอาจพบอาการทางจิตประสาทเป็นภาพหลอนได้ กรณีเป็นหญิงตั้งครรภ์ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้
· หากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ในพื้นที่ทันที เพื่อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัส ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ต่อไป

Q การเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนไปหรือไม่
· ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ได้
· อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์
 
Q ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
 
1. การเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาด
· หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
· แต่ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้
 - หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ชุมนุมชนที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เนื่องจากมีโอกาสรับหรือแพร่กระจายเชื้อได้มาก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการรับเชื้อ
 - ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือปอดบวม
 - ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ
 - หากท่านมีอาการป่วย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ปวดตามเมื่อยตามร่างกาย ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่โรคไปยังผู้อื่น และรีบไปพบแพทย์
 - ปฏิบัติตาม คำแนะนำของรัฐบาลประเทศที่ท่านจะเดินทางไปอย่างเคร่งครัด

2. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด
· จะได้รับการแนะนำด้านสุขภาพจากทีมแพทย์ โดยให้หยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 7 วัน และสังเกตอาการตนเองทุกวัน
· หากเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้กระดาษทิชชูปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
· กรณีที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะอนุญาตให้รักษาตัวที่บ้านได้ ควรหยุดงาน หยุดเรียน และงดไปในที่ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น

3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย
 3.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา
 3.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
 3.3 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและหน่วยงานรับผิดชอบเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที

4. ติดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
· รวมทั้งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th
· หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่
 - ศูนย์บริการข้อมูลทางฮ็อตไลน์ของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0 2590 1994
 - ศูนย์ปฏิบัติการ ฯ กรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333
 
Q หน้ากากอนามัยใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดได้หรือไม่
· หน้ากากอนามัยทั่วไปใช้ในผู้ป่วย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง
· ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยขณะไอจามได้
 
Q ผู้ป่วยต้องรับการรักษาที่ใด
· ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจรักษา หรือรับคำปรึกษาได้ที่สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน
· หากมีอาการอ่อนๆ ควรขอรับคำแนะนำและรับยาจากเภสัชกร และรักษาตัวที่บ้าน หรือขอรับคำแนะนำจากศูนย์ฮ็อตไลน์กรมควบคุมโรค
 
Q หน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนจะต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งภาคเอกชนในประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่มาได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แผนการเตรียมความพร้อมที่แท้จริงในเรื่องนี้ จะประกอบไปด้วยแผนเตรียมการเพื่อตอบสนองภายนอกองค์กรรวมกับแผนประคองกิจการภายในองค์กร
แผนเตรียมการเพื่อตอบสนองภายนอกองค์กร เป็นการตอบสนองต่อการระบาดตามบทบาทหน้าที่เพื่อให้การช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การป้องกันควบคุมโรคและรักษาพยาบาล การประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น อนึ่งการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่จะมีผลกระทบสูงและมีช่วงระยะเวลาการระบาดยาวนานประมาณ 3-6 เดือน จึงต้องจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร ควบคู่ไปกับแผนเตรียมการเพื่อตอบสนองภายนอกองค์กร เพื่อให้การปฏิบัติงานปกติสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และบุคลากรในองค์กรปลอดภัย ซึ่งควรดำเนินการในทุกระดับตั้งแต่ระดับประเทศ กระทรวง จังหวัด และ พื้นที่
 
Q การประคองกิจการภายในองค์กรสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มีแนวทางการจัดทำแผนอย่างไร ?
แนวทางการจัดทำแผนประคองกิจการ ควรมีความครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 6 ด้าน คือ
· ด้านที่ 1 การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ ต่อองค์กร
· ด้านที่ 2 การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ ต่อบุคลากรและลูกค้า
· ด้านที่ 3 การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องดำเนินการในระหว่างเกิดการระบาดใหญ่
· ด้านที่ 4 การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการป้องกันบุคลากรและลูกค้า ในระหว่างเกิดการระบาดใหญ่
· ด้านที่ 5 การติดต่อสื่อสารและการให้ความรู้แก่บุคลากร
· ด้านที่ 6 การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และการช่วยเหลือชุมชน
 
Q หากหน่วยงานต่างๆ ประสงค์จะทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร จะสามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ใด
· กรมควบคุมโรค ได้จัดทำ คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ปี พ.ศ. 2552 และสื่อต่างๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่
· อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถดาวน์โหลดต้นฉบับคู่มือดังกล่าว ได้จากเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th
 
Q หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาคเอกชน จำเป็นต้องสำรองยาต้านไวรัสหรือไม่ อย่างไร
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ใช้ในขณะนี้คือ โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาและป้องกันโรค ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการสำรองยาต้านไวรัส เพื่อเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ และเพื่อขยายปริมาณสำรองยาต้านไวรัสของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวถือเป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากต้องติดตามการดื้อยาและอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ให้ใช้เฉพาะในสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยา สถานประกอบการสามารถสำรองหรือบริจาคยาผ่านโรงพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความเห็นชอบ โดยผู้นำเข้าติดต่อส่งหลักฐานการนำเข้าให้กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโรงพยาบาลเป็นผู้ดูแลควบคุมการใช้ยาอย่างเข้มงวดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งรายงานการใช้ยาต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการใช้ไม่ถูกต้องและป้องกันการดื้อยาจากการใช้อย่างกว้างขวางโดยไม่จำเป็น ในระยะการระบาดใหญ่ หากยาไม่เพียงพอ รัฐอาจขอความร่วมมือในการสำรองยาไว้เพื่อรักษาในโรงพยาบาลเป็นอันดับแรก
หมายเหตุ : องค์กรใดต้องการสำรองยาต้านไวรัส สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลเอกชนคู่สัญญาขององค์กรนั้นๆ ทั้งนี้โรงพยาบาลเอกชนสามารถขอรายละเอียดการดำเนินงานได้ที่ กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0 2590 7000
 
Q หากชาวต่างชาติในประเทศไทย มีอาการป่วย หรือสงสัย จะได้รับการดูแลรักษาอย่างไร
ชาวต่างชาติ ที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาในประเทศไทย จะได้รับการดูแลรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประชาชนไทย โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานบริการทางการแพทย์ทุกแห่ง
 
Q บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วย ควรปฏิบัติอย่างไร
ท่านสามารถติดตามข้อมูล และ รายละเอียดมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้ที่
เว็บไซต์

โทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง

Q ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอขอบคุณข้อมูล-:
คำถาม-คำตอบ เรื่อง“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” “Influenza A(H1N1)” โดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2552 เวลา 8.00 น.
ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.00 น.
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

กลับหน้าหลัก

Free Web Hosting